สร้างความได้เปรียบโดยการกำจัดความสูญเสีย (Waste-free Production)
ปัจจุบันไม่ใช่ยุคของการสร้างความได้เปรียบด้วยขนาดของการผลิต ( Economy of Scale ) เนื่องจากการสร้างความได้เปรียบด้วยขนาดของการผลิต จำเป็นต้องทำการผลิตคราวละมากๆ ( Mass Production ) ซึ่งจะทำให้มีความสูญเสียในรูปของเงินจม ( Sunk Cost ) ตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้พื้นที่ การคงคลังวัสดุ การจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือสำรอง และที่สำคัญการสร้างความได้เปรียบด้วยขนาดของการผลิตทำให้องค์การปรับตัวช้าและไม่ยืดหยุ่นเข้ากับการเปลี่ยนแปลง
โลกของการผลิตปัจจุบันเข่งขันกันด้วยการสร้างความได้เปรียบในการกำจัดความสูญเสียในระบบการผลิต ( Waste - Free Production) เพื่อเป็นหนทางไปสู่การปรับตัวที่ง่าย สะดวก และรวดเร็วกว่าคู่แข่งขัน หรือเรียกว่า ได้เปรียบที่ความเร็ว (Economy of Speed )
วัตถุประสงค์
เพื่อให้บุคคลของบริษัทตระหนักถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
เพื่อให้บุคลากรของบริษัทเข้าใจแนวความสำคัญ และการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ เพื่อลดความสูญเสีย
เพื่อให้บุคลากรของบริษัททุกคนมีส่วนร่วมในการปรับปรุง และลดความสูญเสียในส่วนของตนเอง
เพื่อให้บริษัทมีสถานที่ทำงานเป็นระเบียบ การไหลของวัสดุไม่ติดขัด และมีกระบวนการป้องกันความผิดพลาด
เป้าหมาย
มีการจัดสถานที่ทำงานที่สอดคล้องกับระบบการผลิตแบบปราศจากความสูญเสีย
มีการจัดระบบการไหลของวัสดุและการทำงานที่ต่อเนื่อง ลด WIP และการคงคลังประเภทต่างๆ
มีการวางแผนและจัดทำการป้องกันความผิดพลาดด้วยตัวของกระบวนการ
มีการลดเวลาการตั้งเครื่องหรือเปลี่ยนรุ่นการผลิตให้เหลือน้อยที่สุด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
บริษัทจะมีการปรับปรุงการจัดสถานที่ทำงาน ( Workplace Organization )
บริษัทจะมีระบบการทำงานที่ไหลลื่นอย่างต่อเนื่อง และลดความสูญเสียจากการคงคลัง ( Uninterrupted Flow )
อัตราของเสียและการทำงานที่ผิดพลาดลดลง ( Error - Free Processing )
Single - Minute Exchange of Die ( SMED ) ( Insignificant Changeover )
ระดับของการผลิตแบบปราศจากความสูญเสีย ( WFP Level)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น