วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ (ISO 9001)

มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ (ISO 9001)
ISO 9001 เป็นมาตรฐานสากลที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญ เพื่อความเป็นเลิศทางด้านคุณภาพ และความมีประสิทธิภาพของการดำเนินงานภายในองค์กร

ISO 9001 จึงเป็นระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐานสากล แนวคิดสำคัญของ ISO 9001 คือการจัดวางระบบบริหารงานเพื่อการประกันคุณภาพ ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้เชื่อมั่นได้ว่ากระบวนการต่าง ๆ ได้รับการควบคุมและสามารถตรวจสอบได้ โดยผ่านระบบที่ระบุขั้นตอนและวิธีการทำงาน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบุคลากรในองค์กรรู้หน้าที่ความรับผิดชอบและขั้นตอนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน โดยต้องมีการฝึกอบรมให้ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน มีการจดบันทึกข้อมูล รวมทั้งการตรวจสอบการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามที่ระบุไว้ในระบบหรือไม่ และมีการแก้ไขข้อผิดพลาดรวมทั้งมีแนวทางในการป้องกันข้อผิดพลาดเดิม
ในปัจจุบันมาตรฐาน ISO 9001 จึงกลายเป็นเงื่อนไขหรือข้อกำหนดทางการค้าในการติดต่อธุรกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งเป็นใบเบิกทางไปสู่การค้าในระดับสากล

มาตรฐานที่ใช้ได้กับทุกองค์กร
ISO 9001 เน้นบทบาทของผู้บริหารระดับสูงที่จะต้องให้ความสำคัญกับความต้องการ ความคาดหวังของลูกค้า และผู้ที่เกี่ยวข้อง องค์กรทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมการผลิตหรือภาคบริการทั้งรัฐและเอกชน สามารถนำระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 ไปใช้ได้ และไม่มีขีดจำกัดว่าต้องใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนสูงและบุคลากรจำนวนมากเท่านั้น แต่ยังใช้ได้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการให้เทียบเคียงกับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงได้

ประโยชน์ที่ได้รับภายในองค์กร
มีกระบวนการทำงานที่เป็นระบบยิ่งขึ้น
มีคุณภาพสินค้าที่ดีขึ้น
ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากของเสียได้อย่างเป็นรูปธรรม
เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานดีขึ้น
มีระบบเอกสารที่ดีขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับภายนอกองค์กร
ลูกค้าเกิดความมั่นใจในสินค้าและบริการ
ก้าวสู่ตลาดต่างประเทศได้ง่าย
เพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า
สร้างความสัมพัน์อันดีกับลูกค้ารวมทั้งคู่ค้า
เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
หลักการของการบริหารงานคุณภาพ (Quality Management Principle-QMP) 8 ประการ ได้แก่
การให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Focus)
ความเป็นผู้นำ (Leadership)
การมีส่วนร่วมของบุคลากร (Involvement of People)
การบริหารเชิงกระบวนการ (Process Approach)
การบริหารที่เป็นระบบ (System Approach)
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement)
การตัดสินใจบนพื้นฐานความเป็นจริง (Factual Approach to Decision Making)
ความสัมพันธ์กับผู้ขายเพื่อประโยชน์ร่วมกัน (Mutually Beneficial Supplier Relationship)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น